พระมหาเจดีย์ชัยมงคล อำเภอหนองพอก จ.ร้อยเอ็ด
พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ตั้งอยู่บริเวณวัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วราราม ตำบลผาน้ำย้อย อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด ระยะทางจากตัวเมืองร้อยเอ็ดประมาณ80 ก.ม มีลักษณะเป็นมหาเจดีย์ขนาดใหญ่ที่วิจิตรพิสดาร ใช้ศิลปกรรมร่วมสมัยระหว่างภาคกลางและภาคอีสานเป็นการผสมกันระหว่างพระปฐมเจดีย์และพระธาตุพนม ใช้งบประมาณก่อสร้างถึงปัจจุบันกว่า 3,000 ล้านบาท ดำเนินการสร้างโดย “พระอาจารย์ศรี มหาวิโร” ซึ่งเป็นศิษย์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
พระมหาเจดีย์ชัยมงคลออกแบบโดยกรมศิลปากร เป็นสีขาวตกแต่งลวดลายตระการตาด้วยสีทองเหลืองอร่าม รายล้อมด้วยเจดีย์องค์เล็กทั้ง 8 ทิศสร้าง ในเนื้อที่ 101 ไร่ กว้าง 101 เมตร ยาว 101 เมตร ความสูง 101 เมตร รวมยอดทองคำเป็น 109เมตร ใช้ทอง คำหนัก 4,750 บาท หรือประมาณ 60 กิโลกรัม ภายในองค์พระมหาเจดีย์เหมือน อยู่บนวิมานแดนสวรรค์
ชั้นที่ 1 เป็นห้องโถงกว้างใหญ่ โอ่อ่า ผนังจารึกนามทานาธิบดีต่าง ๆ ใช้เป็นห้องประชุม บำเพ็ญบุญ
ชั้นที่ 2 เป็นห้องโถงโอ่อ่าเช่นกัน ผนังติดตั้งรูปพระพุทธประวัติ ลวดลายไทยวิจิตรพิสดาร
ชั้นที่ 3 เป็นที่ประดิษฐานรูปพระณาจารย์ ปราชญ์ อีสานในอดีต เป็นรูปเหมือนสลักหินอ่อน และหุ่นรูปเหมือนพระสุปฏิปันโน 101 องค์
ชั้นที่ 4 จัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงวัดวาอาราม สถานปฏิบัติสม ถะวิปัสสนา กรรมฐานที่หลวงปู่ศรี เคยบำเพ็ญธรรมมา
ชั้นที่ 5 บันไดเวียน 119 ชั้น เป็นห้องโถงรูประฆัง 8 เหลี่ยมบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
ถ้ำผาน้ำทิพย์ อำเภอหนองพอก จ.ร้อยเอ็ด
ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอหนองพอก ครอบคุมดูแลพื้นที่ประมาณ 151,242 ไร่ หรือประมาณ 242 ตารางกิโลเมตร โดยสภาพ
พื้นที่จะเป็นเทือกเขาหินทรายสูงชันและสลับซับซ้อน ประกอบด้วยป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ สัตว์ป่าที่พบในพื้นที่ป่าแห่งนี้ ได้แก่ ไก่ฟ้าพญาลอ หมูป่า สุนัขจิ้งจอก เป็นต้น จุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจในบริเวณ
เขตห้ามล่าฯ คือ ผาพยอม ซึ่งเป็นจุดที่ใช้สำหรับชมพระอาทิตย์ขึ้น และผาน้ำทิพย์ซึ่งเป็นจุดที่ใช้ชมพระอาทิตย์ตกดิน
กู่พระโกนา อำเภอสุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด
กู่พระโกนา ตั้งอยู่ที่บ้านกู่ หมู่ที่ 2 ตำบลสระคู อำเภอสุวรรณภูมิ การเดินทาง จากจังหวัดร้อยเอ็ดเดินทางตามทางหลวงสาย |
215 ผ่านอำเภอเมืองสรวง แล้วเข้าสาย 202 ผ่าน อ.สุวรรณภูมิ จากนั้นเข้าสาย214 ไปประมาณ 12 กิโลเมตร ถึงกู่พระโกนา
|
ระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร จากตัวจังหวัดปัจจุบันมีวัดสร้างอยู่ในบริเวณเดียวกัน มีถนนเป็นทางแยกเข้าไป ทางด้านซ้ายมือ
|
ด้านหน้าจะเป็นสวนยางกู่พระโกนาประกอบด้วยปรางค์อิฐ 3 องค์ บนฐานศิลาทรายเรียงจากเหนือ – ใต้ทั้งหมดหันหน้าไปทาง
|
ทิศตะวันออก มีกำแพงล้อม และซุ้มประตูเข้า – ออกทั้งปรางค์องค์ กลางถูกดัดแปลงเมื่อ พ.ศ. 2471 โดยการฉาบปูนทับ
|
และก่อขึ้นเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นมีซุ้มพระทั้ง 4 ทิศ หน้าปรางค์องค์กลางชั้นล่างสร้างเป็นวิหาร พระพุทธบาท ประดับเศียรนาค 6 เศียร
|
ของเดิมไว้ด้านหน้าส่วน ปรางค์อีก 2 องค์ ก็ได้รับการบูรณะจากทางวัด เช่นกัน แต่ไม่ถึงกับเปลี่ยนรูปทรงอย่างปรางค์องค์กลาง
|
์ปรางค์องค์กลางถูกดัดแปลงเมื่อ พ.ศ. 2471 โดยการฉาบปูนทับและก่อขึ้นเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นมีซุ้มพระทั้ง 4 ทิศ หน้าปรางค์องค์กลาง
|
ชั้นล่าง สร้างเป็นวิหาร มีพระพุทธบาทประดับ เศียรนาค 6 เศียรของเดิมไว้ด้านหน้า ส่วนปรางค์ อีก 2 องค์ ก็ได้รับการบูรณะจากทาง
|
วัดเช่นกันแต่ไม่ถึงกับเปลี่ยนรูปทรงอย่างปรางค์องค์กลาง ปรางค์องค์ทิศเหนือ ทางวัดสร้างศาลาครอบ ภายในมีหน้า
|
บันสลักรามายณะและประทับสลัก ภาพพระนารายณ์บรรทมสินธุ์อยู่ที่เดิมคือเหนือประตูทาง ด้านหน้า ส่วนทับหลังประตูด้านทิศตะวันตก
|
หล่นอยู่บน พื้นเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑปรางค์องค์ทิศใต้ยังคงมีทับหลังของเดิมเหนือประตูหลอกด้านทิศเหนือเป็นภาพเทวดานั่งชันเข่า
|
ในซื้อเรือนแก้วเหนือหน้ากาลนอกจากนี้ ทางด้านหน้ายังมีทับหลังหล่นที่พื้นเป็นภาพพระอิศวรประทับนั่งบนหลังโคและมีเสานางเรียง
|
วางอยู่ด้วย สันนิษฐานว่ากู่พระโกนาเดิมคงจะมีสะพานนาคและทาง เดินประทับเสานางเรียงทอดต่อจากซุ้มประตูหน้าไปยัง
|
สระน้ำหรือบาราย ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 300 เมตร จากรูปแบบลักษณะทางศิลปกรรมทั้งหมดของภาพสลัก และเสากรอบประตู
|
ซึ่งเป็นศิลปะขอม ที่มีอายุในราว พ.ศ. 1560-1630 (แบบปาปวน) สันนิษฐานว่ากู่พระโกนาคงจะสร้างขึ้นในราว พุทธศตวรรษที่ 16
สิมวัดไตรภูมิคณาจารย์ อำเภอสุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด
สิมวัดไตรภูมิคณาจารย์
ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านตากแดด ตำบลหัวโทน ลักษณะทางศิลปกรรม เป็นสิมแบบพื้นเมืองอีสาน
ประเภทสิมทึบ มีกำแพงแก้วเตี้ย ๆ
ล้อมรอบหน้าบันและรังผึ้งของสิมมีลายแกะสลักสวยงามภายในมีจิตรกรรมหรือ ฮูปแต้ม
แสดงเรื่องในพุทธศาสนา สันนิษฐานว่ามีอายุในราวสมัยอยุธยา-รัตนโกสินทร์ตอนต้น
ด้านนอกสิมมีพระพุทธรูปแบบอีสานขนาดใหญ่ ซึ่งย้ายมาจากวัดใต้วิไลธรรม
ในเขตอำเภอเดียวกัน (สิมวัดไตรภูมิคณาจารย์ ได้รับการบูรณะโดยกรมศิลปากรเมื่อ
พ.ศ.2541 และได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยามประจำปี 2541)
การเดินทาง จากอำเภอเมือง ไปตามทางหลวงหมายเลข
214 เข้าทางหลวงหมายเลข 215 ถึงอำเภอสุวรรณภูมิ เลี้ยวเข้าซอยข้างอำเภอ
ตรงไปประมาณ 5 กิโลเมตร
วัดสระทองหรือวัดบึงพลาญชัย
ตั้งอยู่ในตัวเมือง เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระสังกัจจายน์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่ชาวร้อยเอ็ดเคารพสักการะสร้างในสมัยใดไม่ปรากฏ เมื่อปี พ.ศ. 2325 พระยาขัตติยะวงษา (ท้าวธน) ซึ่งเป็นเจ้าเมืองร้อยเอ็ดคนแรก ได้พบพระองค์นี้เห็นว่ามีความเก่าแก่และศักดิ์สิทธิ์มาก จึงได้นำมาประดิษฐานที่วัดสระทองและยกให้เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง
วัดบูรพาภิราม อำเภอเมือง จ.ร้อยเอ็ด
อยู่ในเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี เดิมชื่อ วัดหัวรอ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดบูรพาภิราม
มีพระพุทธรูปปางประทานพรที่สูงที่สุดในประเทศไทยคือ พระพุทธรัตนมงคลมหามุนี
หรือหลวงพ่อใหญ่ สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ความสูงขององค์พระวัดจากพระบาทถึงยอดเกศสูงถึง
59เมตร 20 เซนติเมตร และมีความสูงทั้งหมด 67เมตร
85เซนติเมตร ที่ฐานจัดเป็นพิพิธภัณฑ์
หลวงพ่อใหญ่เป็นที่เคารพนับถือของชาวเมืองร้อยเอ็ดเป็นอย่างมาก
นอกจากนี้ภายในบริเวณวัดยังเป็นที่ตั้งศูนย์งานพระธรรมทูต
โรงเรียนปริยัติธรรม และมีศาลเจ้าพ่อมเหศักดิ์ซึ่งเป็นที่เคารพของชาวเมืองอยู่
บึงพลาญชัย อำเภอเมือง จ.ร้อยเอ็ด
ตั้งอยู่บริเวณกลางเมืองร้อยเอ็ด
ถือเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด มีลักษณะเป็นเกาะอยู่กลางบึงน้ำขนาดใหญ่
มีเนื้อที่ประมาณ 2
แสนตารางเมตร เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
ตกแต่งเป็นสวนไม้ดอกขนาดใหญ่ มีพันธุ์ไมต่างๆ ร่มรื่นและในบึงน้ำมีปลาชนิดต่างๆ
หลายพันธุ์มากมาย มีเรือสำหรับให้ประชาชนได้พายเล่นในบึง
นอกจาก นั้นยังใช้เป็นสถานที่จัดงานเทศกาลของจังหวัด รวมทั้ง
จัดมหรสพต่างๆ
ภายในบึงพลาญชัยยังมีสิ่งก่อสร้างที่น่า สนใจ คือ
ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง เป็นที่เคารพบูชาของชาว
ร้อยเอ็ด
พระพุทธรูปปางลีลาขนาดใหญ่ กลางสวนดอกไม้
พานรัฐธรรมนูญ และนาฬิกาดอกไม้
ภูพลาญชัย มีลักษณะเป็นสวนสัตว์และน้ำตกจำลอง
สนามเด็กเล่น นกชนิดต่างๆ สวนสุขภาพ
เป็นสวนออกกำลังกาย เพื่อให้ประชาชนได้ออก กำลังกาย อันเป็นการเสริมสร้าง
พลานามัยแก่ชาว ร้อยเอ็ด
น้ำตกถ้ำโสดา
ต.ภูเขาทอง อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด
แหล่งท่องเที่ยวน้ำตกถ้ำโสดา
เริ่มบูรณะเป็นแหล่งท่องเที่ยวเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2540 โดย มีหลวงปู่กาล
ปภากโล เป็นผู้ริเริ่มก่อสร้างและเป็นผู้ดูแลแหล่งท่องเที่ยวน้ำตกถ้ำโสดา
ซึ่งเป็นพระภิกษุสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ในที่พักสงฆ์น้ำตกถ้ำโสดา
เหตุที่มีการตั้งชื่อว่า “น้ำตกถ้ำโสดา” เดิมมีเรื่องเล่าอยู่ว่าในสมัยสร้างพระธาตุพนม
มีสองสามี-ภรรยาคู่หนึ่ง สามีชื่อ “โส” และภรรยาชื่อ
“ดา” อยากที่จะเอาเงินและทองไปใส่ในพระธาตุพนม
ก็ต้องเดินทางไปผ่านป่าเลยไปเจอถ้ำแห่งหนึ่งก็เลยใช้เป็นที่พักอาศัยระหว่าง
เดินทาง และต่อมาก็ใช้ถ้ำแห่งนี้เป็นที่พักอาศัยระหว่างออกไปหาอาหารป่า
เมื่อเหนื่อยล้าก็จะกลับมาพักที่ถ้ำแห่งนี้เป็นประจำทุกวัน
จนชาวบ้านได้เรียกชื่อว่า “ถ้ำโสดา” และจากที่มีน้ำตกอยู่ในตัวแหล่งท่องเที่ยวนี้ด้วยจึงได้ตั้งชื่อเป็น
“น้ำตกถ้ำโสดา” และได้บูรณะเป็นแหล่งท่องเที่ยวและสำนักสงฆ์จนถึงปัจจุบัน
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น